เมนู

[415] คำว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา
ความว่า ไม่ยังความดูหมิ่นให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ
โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ว่า เราดีกว่าเขา ไม่ยังความถือตัวให้
เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง
บ้าง ว่า เราเลวกว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา
ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา.

ว่าด้วยกิเลสหนา 7 ประการ


[416] คำว่า นั้น ในคำว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มี
แก่บุคคลนั้น
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่ากิเลสอันหนาทั้งหลาย
คือกิเลสอันหนา 7 ประการ กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ กิเลส และกรรม กิเลสอันหนาเหล่านี้มิได้มี คือย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ
ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น เป็นบาปธรรมอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ
ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ย่อมไม่สำคัญว่า
เสมอเขา ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา
ในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.

[417] ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มี
ตัณหาในภพหรือในความปราศจากภพ.

ว่าด้วยความอาศัย


[418] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย คือพระ-
อรหันตขีณาสพ. ชื่อว่า ความอาศัย ได้แก่ นิสัย 2 ประการ คือ
ตัณหานิสัย 1 ทิฏฐินิสัย 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ทิฏฐินิสัย ฯลฯ ผู้นั้น ละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เพราะละตัณหานิสัย
สละคืนทิฏฐินิสัย ความอาศัยมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ
ความอาศัยนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้
ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใด
ไม่มีความอาศัย.
[419] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า
รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง...สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์....ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ
รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ นิสัย 2 ประการ คือตัณหานิสัย 1
ทิฏฐินิสัย 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย ผู้ใดละ
ตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง
ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งจักษุ
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล
คณะ อาวาส ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตทำให้ปราศจากแดงกิเลสอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย.